Accessibility Tools

Skip to main content

การบริจาคพลาสมา

การบริจาคพลาสมา (Single Donor Plasma)

พลาสมาหรือน้ำเหลืองนั้นเป็นส่วนของประกอบของเลือดที่ได้หลังจากแยกส่วนของเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดออกไป ในพลาสมาจะประกอบไปด้วยสารโปรตีน ได้แก่ อัลบูมิน โกลบูลิน อิมมูโนโกลบูลิน สารที่ทำให้เลือดแข็งตัว มีหน้าที่สำคัญในการรักษาปริมาณน้ำภายในหลอดเลือด ต่อต้านเชื้อโรคและช่วยในการแข็งตัวของเลือด สามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยา ได้แก่

1.  แฟคเตอร์ 8 (Factor VIII Concentrate)

โรคฮีโมฟีเลีย เอ (โรคเลือดออกง่ายทางพันธุกรรม)

2.  ไอวีไอจี IVIG (Intravenous Immune Globulin)

โรคภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคทางระบบประสาทที่มีสาเหตุจากความผิดปกติ ของภูมิคุ้มกัน

3. อัลบูมิน (Albumin)

โรคเรื้อรังที่มีภาวะขาดสารอัลบูมินในกระแสเลือด เช่น โรคไต โรคเบาหวาน และโรคมะเร็งที่มีความ ล้มเหลวของระบบอวัยวะ

4. เซรุ่มป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี และเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

คุณสมบัติผู้บริจาคพลาสมา

  1. อายุ 17 ปีบริบูรณ์ – 60 ปี (บริจาคเกล็ดเลือดครั้งแรก อายุไม่เกิน 50 ปีและต้องบริจาคโลหิตรวมที่ศูนย์บริการโลหิตฯ มารวมอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วง 1 ปี)
  2. น้ำหนักอย่างน้อย 50 กิโลกรัม
  3. เส้นเลือดที่ข้อพับแขนมองเห็นชัดเจน
  4. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงก่อนมาบริจาค เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ เป็นต้น
  5. มีสุขภาพแข็งแรงไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นข้อห้ามในการบริจาคโลหิต 
  6. สำหรับผู้บริจาคโลหิตโครงการบริจาคพลาสมาทำเซรุ่มไวรัสตับอักเสบบี และเซรุ่มพิษสุนัขบ้า  
  • โครงการบริจาคพลาสมาทำเซรุ่มไวรัสตับอักเสบบี  เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเจาะเลือดประมาณ 6 mL ส่งงานห้องปฏิบัติการเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดเพื่อตรวจ Anti-HBsAg ว่ามีหรือไม่ เมื่อทราบผลทำการคัดแยกเข้าโครงการ ในกรณีที่ผลการตรวจ Anti-HBsAg เป็นบวก (มากกว่าหรือเท่ากับ 5 IU/mL) ให้เข้าโครงการเซรุ่มป้องกันไวรัสตับอักเสบบี (Human Hepatitis-B Immunoglobulin HBIG) และทำบัตรนัดฉีดยา โดยนัดฉีดยาเดือนละ 1 เข็ม เป็นเวลา 3 เดือน ติดต่อกันพร้อมทั้งเจาะโลหิตตรวจหาระดับ Anti-HBsAg ก่อนฉีดยาเข็มที่ 2 และเข็มที่ 3 ผลภูมิหลังฉีดยาครบ 3 เข็มต้องมากกว่า 10 IU/mL เมื่อฉีดยาเข็มที่ 3 ครบแล้ว 2 สัปดาห์ เริ่มบริจาคพลาสมาได้และสามารถบริจาคได้ทุก 14 วัน ในระหว่างที่อยู่ในโครงการบริจาคพลาสมาจะต้องมีการฉีดยากระตุ้นตลอดทุก 3 เดือนพร้อมทั้งตรวจระดับ Anti- HBsAg ทุก 3 เดือน
  • โครงการเซรุ่มป้องกันพิษสุนัขบ้า (Human Rabies Immunoglobulin, HRIG) โดยจะฉีดวัคซีน VERORAB 0.2 mL ID แบ่งฉีดกล้ามเนื้อ (Deltoid) ที่แขนทั้ง 2 ข้างๆ ละ 0.1 mL ทำบัตร นัดฉีดยากำหนดวันดังนี้

ฉีดวัคซีนครั้งที่ 1 (Day 0) วันที่……..(วันที่มาฟังผลและตกลงเข้าโครงการ)
ฉีดวัคซีนครั้งที่ 2 (Day7) วันที่……..(7 วันหลังจากฉีดยาเข็มที่ 1)
ฉีดวัคซีนครั้งที่ 3 (Day21) วันที่……..(21 วันหลังจากฉีดยาเข็มที่ 1)

หลังจากฉีดยาครบ 3 เข็ม แล้วเมื่อครบกำหนด 2 สัปดาห์ เริ่มบริจาคพลาสมาได้ และสามารถ บริจาคได้ทุก 14 วัน ในระหว่างที่อยู่ในโครงการบริจาคจะต้องมีการฉีดยากระตุ้นตลอดทุก 3 เดือน

  • พลาสมาในกลุ่มที่ไม่ต้องฉีดวัคซีนผลิต Fractionation คัดเลือกผู้บริจาคแบบเดียวกันแต่ไม่ต้องมีการฉีดวัคซีน

การดูแลเพิ่มเติมสำหรับผู้บริจาคพลาสมา

ตรวจติดตามระดับ Total Protein และ Albumin ทุก 6 เดือน ในผู้บริจาคพลาสมาทุก ถ้า Protein ต่ำกว่า 6.0 g/dl ให้ผู้บริจาคหยุดการบริจาคชั่วคราว และนัดมาตรวจซ้ำหลังจาก นั้น 1 เดือน ถ้ามากกว่า 6.0 g/dl สามารถบริจาคต่อได้

วิธีการบริจาค

การบริจาคพลาสมา จะบริจาคด้วยเครื่องแยกส่วนประกอบโลหิตอัตโนมัติ (Blood Cell Separator) ใช้เวลาในการบริจาค ประมาณ 45 นาที ครั้งละ 500 ซีซี บริจาคได้ทุก 14 วัน

วันและเวลาทำการ

  • วันจันทร์ พุธ ศุกร์
    (ไม่ปิดพักกลางวัน)
    เวลา 08.30-16.30 น.
    (ปิดรับบริจาคเกล็ดเลือด เวลา 15.30 น. )

  • วันอังคาร พฤหัสบดี
    (ไม่ปิดพักกลางวัน)
    เวลา 07.30-19.30 น.
    (ปิดรับบริจาคเกล็ดเลือด เวลา 18.00 น. )

  • วันเสาร์ อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์
    (ไม่ปิดพักกลางวัน)
    เวลา 08.30-12.30 น.
    (ปิดรับบริจาคเกล็ดเลือด เวลา 12.00 น.)

นัดหมายการบริจาคเกล็ดเลือด  หรือสอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2-263-9600 -99 ต่อ 1143,1144

วันและเวลาทำการห้องรับบริจาคพลาสมา ชั้น 2

เปิดทำการเฉพาะ วันจันทร์-ศุกร์
(ไม่หยุดพักกลางวัน)
เวลา 08.30-16.30 น.
ปิดทำการวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2256 4300, 0 2263 9600-99 ต่อ 1101,1203


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *