ผู้เขียน: colorpack
การบริจาคเม็ดเลือดแดง
การบริจาคเม็ดเลือดแดง (Single Donor Red Cells)
เม็ดเลือดแดง (Red blood Cells) เป็นส่วนประกอบชนิดหนึ่งของเลือด มีหน้าที่ขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย ผู้ป่วยที่ต้องใช้เม็ดเลือดแดงชนิด Single Donor Red Cells ในการรักษา ได้แก่
-
ผู้ป่วยโรคเลือดที่ต้องได้รับเลือดประจำ เช่น ธาลัสซีเมีย ไขกระดูกฝ่อ เป็นต้น
-
ผู้ป่วยที่เป็นหมู่เลือดพิเศษหรือหายาก
-
ผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้เลือดรุนแรง (Anaphylaxis)
คุณสมบัติผู้บริจาคเม็ดเลือดแดง
-
อายุ 17 ปีบริบูรณ์ – 60 ปี (บริจาคเม็ดเลือดแดงครั้งแรก อายุไม่เกิน 50 ปีและต้องบริจาคโลหิตรวมที่ศูนย์บริการโลหิตฯ มารวมอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วง 1 ปี)
-
ผู้บริจาคชาย น้ำหนักเท่ากับหรือมากกว่า 59 กิโลกรัม ส่วนสูงมากกว่า 155 เซนติเมตร
-
ผู้บริจาคหญิง น้ำหนักเท่ากับหรือมากกว่า 68 กิโลกรัม ส่วนสูงมากกว่า 165 เซนติเมตร
-
มีเส้นเลือดที่ข้อพับแขนมองเห็นชัดเจน
-
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงก่อนมาบริจาค เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ เป็นต้น
-
มีค่าความเข้มข้นโลหิต Hct มากกว่า 40 % และ Hemoglobin มากกว่า 14.0 g/dl
-
มีสุขภาพแข็งแรงไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นข้อห้ามในการบริจาคโลหิต
การบริจาคเม็ดเลือดแดง
บริจาคด้วยเครื่องแยกส่วนประกอบโลหิตอัตโนมัติ (Blood Cell Separator) จะแยกเก็บ เฉพาะเม็ดเลือดแดงไว้ โดยคืนส่วนอื่นกลับสู่ร่างกาย และชดเชยเลือดที่บริจาคด้วยน้ำเกลือ 400 มิลลิลิตรให้แก่ผู้บริจาค ใช้เวลาประมาณ 45 นาที บริจาคได้ทุก 4 เดือน
วัน/เวลาทำการห้องบริจาคเม็ดเลือดแดง
-
วันจันทร์ พุธ ศุกร์
(ไม่ปิดพักกลางวัน)
เวลา 08.30-16.30 น.
(ปิดรับบริจาคเกล็ดเลือด เวลา 15.00 น. ) -
วันอังคาร พฤหัสบดี
(ไม่ปิดพักกลางวัน)
เวลา 07.30-19.30 น.
(ปิดรับบริจาคเกล็ดเลือด เวลา 17.00 น. ) -
วันเสาร์ อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์
(ไม่ปิดพักกลางวัน)
เวลา 08.30-12.30 น.
(ปิดรับบริจาคเกล็ดเลือด เวลา 11.30 น.)
นัดหมายการบริจาคเกล็ดเลือด หรือสอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2-263-9600 -99 ต่อ 1143,1144
การบริจาคเกล็ดเลือด
การบริจาคเกล็ดเลือด (Single Donor Platelets)
เกล็ดเลือด (platelet) คือส่วนประกอบของเลือดชนิดหนึ่งซึ่งมีความสำคัญมาก มีหน้าที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด และอุดรอยฉีกขาดของหลอดเลือด ปริมาณเกล็ดเลือดในคนทั่วไปมีค่าประมาณ 150,000 – 450,000 ตัวต่อปริมาณเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร (150,000 – 450,000/mm3) ผู้ป่วยที่มีปริมาณเกล็ดเลือดต่ำ อาจทำให้มีเลือดออกซึ่งรุนแรงถึงชีวิตได้ จึงจำเป็นต้องได้รับเกล็ดเลือด (platelet transfusion) เพื่อป้องกันภาวะดังกล่าว จึงมีการให้เกล็ดเลือดในผู้ป่วยที่มีเลือดออกจากภาวะเกล็ดเลือดต่ำหรือทำงานผิดปกติ หรือผู้ป่วยที่ไขกระดูกสร้างเกล็ดเลือดได้น้อย (เช่น โรคไขกระดูกฝ่อ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคตับ) หรือผู้ป่วยที่สูญเสียเกล็ดเลือดจำนวนมาก (เช่น โรคไข้เลือดออก การผ่าตัดใหญ่ การตกเลือดหลังคลอดบุตร เลือดออกจากอุบัติเหตุ เป็นต้น)
คุณสมบัติผู้บริจาคเกล็ดเลือด
-
เพศชาย
เนื่องจากผู้บริจาคเพศหญิงอาจทำให้มีอุบัติการณ์แทรกซ้อน ในผู้ป่วยที่มีสาเหตุจาก แอนติบอดี้ต่อเม็ดเลือดขาว มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ซึ่งข้อจำกัดดังกล่าวเป็นมาตรฐานสากลในการบริจาคเกล็ดเลือดรายเดียวด้วยวิธี Plateletpheresis -
มีสุขภาพแข็งแรง
ไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นข้อห้ามในการบริจาคโลหิต -
อายุ 17 ปีบริบูรณ์ – 60 ปี
บริจาคเกล็ดเลือดครั้งแรก อายุไม่เกิน 50 ปีและต้องบริจาคโลหิตรวมที่ศูนย์บริการโลหิตฯ มารวมอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วง 1 ปี -
น้ำหนัก
อย่างน้อย 50 กิโลกรัม -
ปริมาณเกล็ดเลือด
มีปริมาณเกล็ดเลือดก่อนบริจาค ไม่น้อยกว่า 150,000/ไมโครลิตร และหลังบริจาคต้องมีปริมาณเกล็ดเลือด ไม่น้อยกว่า 100,000/ไมโครลิตร (ผู้บริจาคจะได้รับตรวจ CBC* ซึ่งเป็นการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ก่อนการบริจาค) -
เส้นเลือด
มีเส้นเลือดที่ข้อพับแขน มองเห็นชัดเจน -
อย่างน้อย 48 ชั่วโมง
ไม่กินยาแก้ปวดแอสไพริน ยาแก้ปวดข้อและ ยาที่อยู่ในกลุ่ม NSAIDs อย่างน้อย 48 ชั่วโมง -
อย่างน้อย 72 ชั่วโมง
หยุดรับประทานขมิ้นชันหรือน้ำมันปลา อย่างน้อย 72 ชั่วโมง ก่อนมาบริจาค เนื่องจากอาจมีผลต่อการทำงานของเกล็ดเลือด
วิธีการบริจาค
การบริจาคเกล็ดเลือด (Single Donor Platelets) สามารถบริจาคได้ทุกเดือน โดยรับบริจาคด้วยเครื่องแยกส่วนประกอบโลหิตอัตโนมัติ (Blood Cell Separator) เครื่องจะแยกเกล็ดเลือดเก็บและคืนส่วนอื่นกลับสู่ร่างกาย ใช้เวลาในการบริจาคแต่ละครั้งประมาณ 1-2 ชั่วโมง
วัน/เวลาทำการห้องบริจาคเกล็ดเลือด
-
วันจันทร์ พุธ ศุกร์
(ไม่ปิดพักกลางวัน)
เวลา 08.30-19.30 น.
(ปิดรับบริจาคเกล็ดเลือด เวลา 17.30 น. ) -
วันอังคาร พฤหัสบดี
(ไม่ปิดพักกลางวัน)
เวลา 07.30-19.30 น.
(ปิดรับบริจาคเกล็ดเลือด เวลา 17.30 น. ) -
วันเสาร์ อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์
(ไม่ปิดพักกลางวัน)
เวลา 08.30-12.30 น.
(ปิดรับบริจาคเกล็ดเลือด เวลา 11.30 น.)
นัดหมายการบริจาคเกล็ดเลือด หรือสอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2-263-9600 -99 ต่อ 1143,1144
การบริจาคพลาสมา
การบริจาคพลาสมา (Single Donor Plasma)
พลาสมาหรือน้ำเหลืองนั้นเป็นส่วนของประกอบของเลือดที่ได้หลังจากแยกส่วนของเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดออกไป ในพลาสมาจะประกอบไปด้วยสารโปรตีน ได้แก่ อัลบูมิน โกลบูลิน อิมมูโนโกลบูลิน สารที่ทำให้เลือดแข็งตัว มีหน้าที่สำคัญในการรักษาปริมาณน้ำภายในหลอดเลือด ต่อต้านเชื้อโรคและช่วยในการแข็งตัวของเลือด สามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยา ได้แก่
-
1. แฟคเตอร์ 8 (Factor VIII Concentrate)
โรคฮีโมฟีเลีย เอ (โรคเลือดออกง่ายทางพันธุกรรม)
-
2. ไอวีไอจี IVIG (Intravenous Immune Globulin)
โรคภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคทางระบบประสาทที่มีสาเหตุจากความผิดปกติ ของภูมิคุ้มกัน
-
3. อัลบูมิน (Albumin)
โรคเรื้อรังที่มีภาวะขาดสารอัลบูมินในกระแสเลือด เช่น โรคไต โรคเบาหวาน และโรคมะเร็งที่มีความ ล้มเหลวของระบบอวัยวะ
-
4. เซรุ่มป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี และเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
คุณสมบัติผู้บริจาคพลาสมา
-
อายุ 17 ปีบริบูรณ์ – 60 ปี (บริจาคเกล็ดเลือดครั้งแรก อายุไม่เกิน 50 ปีและต้องบริจาคโลหิตรวมที่ศูนย์บริการโลหิตฯ มารวมอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วง 1 ปี)
-
น้ำหนักอย่างน้อย 50 กิโลกรัม
-
เส้นเลือดที่ข้อพับแขนมองเห็นชัดเจน
-
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงก่อนมาบริจาค เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ เป็นต้น
-
มีสุขภาพแข็งแรงไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นข้อห้ามในการบริจาคโลหิต
-
สำหรับผู้บริจาคโลหิตโครงการบริจาคพลาสมาทำเซรุ่มไวรัสตับอักเสบบี และเซรุ่มพิษสุนัขบ้า
-
โครงการบริจาคพลาสมาทำเซรุ่มไวรัสตับอักเสบบี เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเจาะเลือดประมาณ 6 mL ส่งงานห้องปฏิบัติการเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดเพื่อตรวจ Anti-HBsAg ว่ามีหรือไม่ เมื่อทราบผลทำการคัดแยกเข้าโครงการ ในกรณีที่ผลการตรวจ Anti-HBsAg เป็นบวก (มากกว่าหรือเท่ากับ 5 IU/mL) ให้เข้าโครงการเซรุ่มป้องกันไวรัสตับอักเสบบี (Human Hepatitis-B Immunoglobulin HBIG) และทำบัตรนัดฉีดยา โดยนัดฉีดยาเดือนละ 1 เข็ม เป็นเวลา 3 เดือน ติดต่อกันพร้อมทั้งเจาะโลหิตตรวจหาระดับ Anti-HBsAg ก่อนฉีดยาเข็มที่ 2 และเข็มที่ 3 ผลภูมิหลังฉีดยาครบ 3 เข็มต้องมากกว่า 10 IU/mL เมื่อฉีดยาเข็มที่ 3 ครบแล้ว 2 สัปดาห์ เริ่มบริจาคพลาสมาได้และสามารถบริจาคได้ทุก 14 วัน ในระหว่างที่อยู่ในโครงการบริจาคพลาสมาจะต้องมีการฉีดยากระตุ้นตลอดทุก 3 เดือนพร้อมทั้งตรวจระดับ Anti- HBsAg ทุก 3 เดือน
-
โครงการเซรุ่มป้องกันพิษสุนัขบ้า (Human Rabies Immunoglobulin, HRIG) โดยจะฉีดวัคซีน VERORAB 0.2 mL ID แบ่งฉีดกล้ามเนื้อ (Deltoid) ที่แขนทั้ง 2 ข้างๆ ละ 0.1 mL ทำบัตร นัดฉีดยากำหนดวันดังนี้
-
ฉีดวัคซีนครั้งที่ 1 (Day 0)
วันที่……..(วันที่มาฟังผลและตกลงเข้าโครงการ)
-
ฉีดวัคซีนครั้งที่ 2 (Day7)
วันที่……..(7 วันหลังจากฉีดยาเข็มที่ 1)
-
ฉีดวัคซีนครั้งที่ 3 (Day21)
วันที่……..(21 วันหลังจากฉีดยาเข็มที่ 1)
- หลังจากฉีดยาครบ 3 เข็ม แล้วเมื่อครบกำหนด 2 สัปดาห์ เริ่มบริจาคพลาสมาได้ และสามารถ บริจาคได้ทุก 14 วัน ในระหว่างที่อยู่ในโครงการบริจาคจะต้องมีการฉีดยากระตุ้นตลอดทุก 3 เดือน
พลาสมาในกลุ่มที่ไม่ต้องฉีดวัคซีนผลิต Fractionation คัดเลือกผู้บริจาคแบบเดียวกันแต่ไม่ต้องมีการฉีดวัคซีน
-
การดูแลเพิ่มเติมสำหรับผู้บริจาคพลาสมา
ตรวจติดตามระดับ Total Protein และ Albumin ทุก 6 เดือน ในผู้บริจาคพลาสมาทุก ถ้า Protein ต่ำกว่า 6.0 g/dl ให้ผู้บริจาคหยุดการบริจาคชั่วคราว และนัดมาตรวจซ้ำหลังจาก นั้น 1 เดือน ถ้ามากกว่า 6.0 g/dl สามารถบริจาคต่อได้
-
วิธีการบริจาค
การบริจาคพลาสมา จะบริจาคด้วยเครื่องแยกส่วนประกอบโลหิตอัตโนมัติ (Blood Cell Separator) ใช้เวลาในการบริจาค ประมาณ 45 นาที ครั้งละ 500 ซีซี บริจาคได้ทุก 14 วัน
วันและเวลาทำการ
-
วันจันทร์ พุธ ศุกร์
(ไม่ปิดพักกลางวัน)
เวลา 08.30-16.30 น.
(ปิดรับบริจาคเกล็ดเลือด เวลา 15.30 น. ) -
วันอังคาร พฤหัสบดี
(ไม่ปิดพักกลางวัน)
เวลา 07.30-19.30 น.
(ปิดรับบริจาคเกล็ดเลือด เวลา 18.00 น. ) -
วันเสาร์ อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์
(ไม่ปิดพักกลางวัน)
เวลา 08.30-12.30 น.
(ปิดรับบริจาคเกล็ดเลือด เวลา 12.00 น.)
นัดหมายการบริจาคเกล็ดเลือด หรือสอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2-263-9600 -99 ต่อ 1143,1144
วันและเวลาทำการห้องรับบริจาคพลาสมา ชั้น 2
(ไม่หยุดพักกลางวัน)
เปิดทำการเฉพาะ วันจันทร์-ศุกร์
เวลา 08.30-16.30 น.
ปิดทำการวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2256 4300, 0 2263 9600-99 ต่อ 1101,1203
นโยบายคุณภาพ การรับรองคุณภาพและมาตรฐาน
นโยบายคุณภาพ การรับรองคุณภาพและมาตรฐาน
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
มุ่งมั่นให้บริการโลหิตและผลิตภัณฑ์โลหิตที่มีคุณภาพ และความปลอดภัยสูงสุด ตามมาตรฐานสากล
ด้วยการบริหารระบบคุณภาพที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยยึดหลัก จริยธรรรม ความเสมอภาคและความพึงพอใจของผู้รับบริการ
วิสัยทัศน์และค่านิยม พันธกิจ เข็มมุ่ง
วิสัยทัศน์
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เป็นศูนย์กลางการให้บริการโลหิต เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต และ ผลิตภัณฑ์ด้านบริการโลหิตของประเทศ ได้เพียงพออย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุด ต่อผู้บริจาคโลหิตและผู้ป่วย ด้วยมาตรฐานระดับสากล
ค่านิยมองค์กร
-
คุณภาพ (Quality)
คุณภาพ (Quality) โลหิตที่ได้รับบริจาคต้องมีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุดสำหรับผู้ป่วย โดยมีการส่งเสริมพัฒนาด้านวิชาการ วิจัย และนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อการบริการโลหิตและส่วนประกอบโลหิตอย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล
-
รับผิดชอบ (Accountability)
รับผิดชอบ (Accountability) การให้บริการโลหิตที่มีคุณภาพ เพียงพอ และทันเวลาต่อความต้องการของผู้รับบริการทั่วประเทศตลอดปี และการพัฒนาองค์กรให้เป็นที่พึ่ง เป็นแหล่งอ้างอิงด้านบริการโลหิตของประเทศ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยนำนวัตกรรมใหม่มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่างๆ รวมทั้ง การค้นคว้าวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ตลอดจนการรณรงค์ประชาสัมพันธ์จัดหาผู้บริจาคโลหิตเชิงรุก โดยใช้กลยุทธ์ต่างๆในการจัดหาโลหิตให้ได้ตามเป้าหมาย
-
เอื้ออาทร (Caring)
เอื้ออาทร (Caring) การสร้างคุณธรรมภายในองค์กร คือ คุณภาพ รับผิดชอบ เอื้ออาทร เพื่อให้บุคลากรดำเนินการตามหลักจรรยาบรรณ และธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นวัฒนธรรมกาชาด เป็นรากฐานของการทำงานอย่างมีความสุข มีเจตคติที่ดี และช่วยประสานการทำงานทั้งองค์กรให้เป็นหนึ่งเดียวกัน สร้างสังคมในองค์กรให้น่าอยู่ นำมาซึ่งความสำเร็จในการทำงาน
พันธกิจ
-
1
เป็นศูนย์กลางบริหารงานบริการโลหิต เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต และผลิตภัณฑ์ด้านบริการโลหิตให้เพียงพอและปลอดภัย
-
2
กำหนดและกำกับดูแลนโยบาย มาตรฐาน และแนวปฏิบัติงานบริการโลหิตระดับประเทศ
-
3
เป็นศูนย์กลางห้องปฏิบัติการ และข้อมูลด้านบริการโลหิตของประเทศ -
4
ธำรงไว้ซึ่งระบบคุณภาพตามมาตรฐานสากล
-
5
ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านบริการโลหิตอย่างต่อเนื่อง
-
6
บริหารหลักสูตรและการฝึกอบรมด้านเวชศาสตร์บริการโลหิต ร่วมกับสถาบันการศึกษา สนับสนุนการพัฒนาต่อเนื่องของบุคลากร ด้านเวชศาสตร์บริการโลหิตของประเทศ และเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมด้านเวชศาสตร์บริการโลหิตขององค์การอนามัยโลกสำหรับ ประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (WHOCC)
เข็มมุ่ง
3S + 1E เข็มมุ่งสู่ความเป็นเลิศในการบริการโลหิตและสร้างคุณค่าที่ดีสู่สังคม
-
ปลอดภัย (Safety)
ปลอดภัย (Safety) ให้บริการโลหิตและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ คำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดทั้งผู้ให้และผู้รับ ส่งเสริมความปลอดภัยในด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
-
ได้มาตรฐาน (Standard)
ได้มาตรฐาน (Standard) บริหารระบบคุณภาพตามมาตรฐานสากล ด้วยความเชี่ยวชาญและรับผิดชอบแบบมืออาชีพ
-
บริการประทับใจ (Satisfaction)
บริการประทับใจ (Satisfaction) ใส่ใจและเอื้ออาทร ให้ความสำคัญและสร้างประสบการณ์ที่ดี เกินความคาดหมายให้ผู้รับบริการ
-
ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (Environment)
ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (Environment) ร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยประหยัดพลังงานและบริหารทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มุ่งสู่ Zero Waste
ข้อมูลผู้บริหาร
ผู้บริหารศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
ผู้บริหารศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
ผู้อำนวยการ
แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ
ผู้อำนวยการ
รองศาสตราจารย์
แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ
รองผู้อำนวยการ
นางสาวภาวิณี คุปตวินทุ
รองผู้อำนวยการ ด้านปฏิบัติการและบริหาร
นางสาวภาวิณี คุปตวินทุ
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
-
นางสาวปิยนันท์ คุ้มครอง
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
ด้านจัดหาโลหิตและภาพลักษณ์องค์กรนางสาวปิยนันท์ คุ้มครอง
-
นางสิณีนาฏ อุทา
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
ด้านการบริการโลหิตนางสิณีนาฏ อุทา
-
นายสาธิต เทศสมบูรณ์
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
ด้านบริการโลหิตส่วนภูมิภาคนายสาธิต เทศสมบูรณ์
-
ภญ. ฐิติพร ภาคภูมิพงศ์
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
ด้านวิชาการและคุณภาพภญ. ฐิติพร ภาคภูมิพงศ์
-
ภญ.วดี รุ่งประดับวงศ์
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
ด้านการผลิตผลิตภัณฑ์ภญ.วดี รุ่งประดับวงศ์
-
ภญ.ปิยวดี วิทยาวิวัฒน์
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
ด้านการบริหารภญ.ปิยวดี วิทยาวิวัฒน์
-
ภก.ดร.นรินทร์ กิจเกรียงไกรกุล
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
ด้านบริหารศูนย์ผลิต
ผลิตภัณฑ์จากพลาสมาภก.ดร.นรินทร์
กิจเกรียงไกรกุล
หัวหน้าฝ่าย หัวหน้าศูนย์ หัวหน้างาน
-
นางศิริลักษณ์ เพียรเจริญ
หัวหน้าศูนย์ห้องปฏิบัติการอ้างอิง
นางศิริลักษณ์ เพียรเจริญ
-
นายธีระ วิทยาวิวัฒน์
หัวหน้าฝ่ายจ่ายโลหิตและผลิตภัณฑ์
นายธีระ วิทยาวิวัฒน์
-
นางสาวนภัสศิริ สมใจ
หัวหน้าฝ่ายรับบริจาคโลหิตเฉพาะส่วน
นางสาวนภัสศิริ สมใจ
-
นางวลาพร พัฒนาพงศ์ศักดิ์
หัวหน้าฝ่ายเจาะเก็บโลหิต
นางวลาพร พัฒนาพงศ์ศักดิ์
-
นายเกรียงศักดิ์ ไชยวงค์
หัวหน้าฝ่ายตรวจคัดกรองโลหิต
นายเกรียงศักดิ์ ไชยวงค์
-
ภญ.ตรึงตรา ลีลารังสรรค์
หัวหน้าฝ่ายผลิตส่วนประกอบโลหิต
ภญ.ตรึงตรา ลีลารังสรรค์
-
ภญ.นฤมล วระชุน
หัวหน้าฝ่ายประกัน
และควบคุมคุณภาพภญ.นฤมล วระชุน
-
ภก.วรพงศ์ บุญพาล้ำเลิศ
หัวหน้าฝ่ายผลิตถุงบรรจุโลหิต
อุปกรณ์ และน้ำยาภก.วรพงศ์ บุญพาล้ำเลิศ
-
นายอุดม ติ่งต้อย
หัวหน้าฝ่ายผลิตน้ำยาแอนติซีรัม
และผลิตภัณฑ์เซลล์นายอุดม ติ่งต้อย
-
นางพิรญาณ์ พิริยะมานนท์
หัวหน้าฝ่ายบัญชีและงบประมาณ
นางพิรญาณ์ พิริยะมานนท์
-
นางสาวสริญญา เหล่าสุวรรณพงษ์
หัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคล
นางสาวสริญญา เหล่าสุวรรณพงษ์
-
นางสาววรรณศิริ วรรณศิริพิพัฒน์
หัวหน้าฝ่ายการเงิน
นางสาววรรณศิริ วรรณศิริพิพัฒน์
-
นางปุณยนุช รอดเรือง
หัวหน้าฝ่ายจัดซื้อและพัสดุ
นางปุณยนุช รอดเรือง
-
นางเสาวลักษณ์ อมาตยกุล
หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป
นางเสาวลักษณ์ อมาตยกุล
-
ภก.อนวัช มิตรประทาน
หัวหน้าฝ่ายผลิตผลิตภัณฑ์โลหิต
ภก.อนวัช มิตรประทาน
-
นางสาวสุรัชนี ยอดแสง
รักษาการในตำแหน่ง
หัวหน้าฝ่ายสารสนเทศและเทคโนโลยีนางสาวสุรัชนี ยอดแสง
-
นางสาววิภาวรรณ ภมร
หัวหน้าฝ่ายธนาคารเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต
นางสาววิภาวรรณ ภมร
-
นพ.คามิน วงษ์กิจพัฒนา
รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายการแพทย์
นพ.คามิน วงษ์กิจพัฒนา
-
นพ.อภิสิทธิ์ ทองไทยสิน
รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายวิชาการ
และการศึกษาต่อเนื่องนพ.อภิสิทธิ์ ทองไทยสิน
ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ
-
ทนพญ.พัชรากร กรำกระโทก
หัวหน้าภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 2
จังหวัดลพบุรีทนพญ.พัชรากร กรำกระโทก
-
ทนพญ.ประภาภรณ์ อุดมวินิจศิลป์
หัวหน้าภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 3
จังหวัดชลบุรีทนพญ.ประภาภรณ์ อุดมวินิจศิลป์
-
ทนพญ.สมรัก เพชรโฉมฉาย
หัวหน้าภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 4
จังหวัดราชบุรีทนพญ.สมรัก เพชรโฉมฉาย
-
ทนพญ.ศิริลักษณ์ เพียกขุนทด
หัวหน้าภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 5
จังหวัดนครราชสีมาทนพญ.ศิริลักษณ์ เพียกขุนทด
-
ทนพญ.วิราศิณี ชัยมณี
หัวหน้าภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 6
จังหวัดขอนแก่นทนพญ.วิราศิณี ชัยมณี
-
ทนพญ.ทัศนีวรรณ เชื้อเจ็ดตน
หัวหน้าภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 7
จังหวัดอุบลราชธานีทนพญ.ทัศนีวรรณ เชื้อเจ็ดตน
-
ทนพญ.วชิราภรณ์ ยนต์วิเศษ
หัวหน้าภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 8
จังหวัดนครสวรรค์ทนพญ.วชิราภรณ์ ยนต์วิเศษ
-
ทนพญ.อุไรวรรณ บุญจันทร์
หัวหน้าภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 9
จังหวัดพิษณุโลกทนพญ.อุไรวรรณ บุญจันทร์
-
ทนพญ.วัชรี ประสิงห์
หัวหน้าภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 10
จังหวัดเชียงใหม่ทนพญ.วัชรี ประสิงห์
-
ทนพญ.ชฎาพร จุติชอบ
หัวหน้าภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 11
จังหวัดนครศรีธรรมราชทนพญ.ชฎาพร จุติชอบ
-
ทนพญ.สุภัตตรา มิถุนดี
หัวหน้าภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 12
จังหวัดสงขลาทนพญ.สุภัตตรา มิถุนดี
-
ทนพญ.พรทิพย์ รัตจักร์
หัวหน้าภาคบริการโลหิตแห่งชาติ
จังหวัดภูเก็ตทนพญ.พรทิพย์ รัตจักร์
ศูนย์ผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสมา
ภก.ดร.นรินทร์ กิจเกรียงไกรกุล
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ด้านบริหารศูนย์ผลิต
ผลิตภัณฑ์จากพลาสมา
ภก.ดร.นรินทร์ กิจเกรียงไกรกุล
-
ภญ.พัฒนา มังจักร
ผู้จัดการศูนย์ผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสมา
ภญ.พัฒนา มังจักร
-
นายวิษณุพร โลเกศเสถียร
ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรม
นายวิษณุพร โลเกศเสถียร
-
ภญ.วิชชุดา น้อยมณี
ผู้จัดการฝ่ายผลิต
ภญ.วิชชุดา น้อยมณี
-
นายณัฐนนท์ กันตา
ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบริหาร
และจัดการทรัพยากรบุคคลนายณัฐนนท์ กันตา
-
นางณถาภัช สะอาดดี
ผู้จัดการแผนกคลังสินค้าและขนส่ง
นางณถาภัช สะอาดดี
-
เภสัชกรกิตติพงษ์ วิโยคม
ผู้จัดการแผนกการตลาดและการขาย
เภสัชกรกิตติพงษ์ วิโยคม